ลายปริ้นวงจรบอร์ดทดลอง IOT
ลายปริ้นที่ใช้ศึกษาในวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ระดับปริญญาตรี การจัดทำปริ้นให้นักศึกษาดำเนินการเอง(หรือจะสั่งทำก็ได้) ครูได้ออกแบบลายปริ้นโดยปรับขนาดให้เป็น 6x4 นิ้ว เพื่อให้สามารถตัดแผ่นปริ้นขนาด 1 ตารางฟุตได้ 6 แผ่น โดยในลายปริ้นจะครอบคลุมงานหลักที่ใช้ในการเรียนการสอน 18 สัปดาห์และมีบางส่วนที่เป็นโมดูลสำเร็จรูปสามารถนำมาเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการศึกษาได้ รูปแบบของแผงวงจรเป็นดังรูป
ลายปริ้นมีจุดจั๊มสาย 1 จุด (ทำการจั้มเฉพาะปริ้นหน้าเดียวเท่านั้น) ดังรูป
ข้อควรระวัง
1. OLED จะต้องใช้รุ่นที่มีขาเรียง VCC-GND-SCL-SDA เท่านั้น (ไม่ได้ทำออฟชั่นสลับขาไว้เพื่อป้องกันการเลือกผิดซึ่งอาจทำให้ OLED ชำรุดเสียหายได้)
2. LED Bar graph 10 digit ในท้องตลาดมี 2 แบบดังรูป ดังนั้นก่อนการประกอบลงแผ่นวงจรให้ตรวจสอบขั้วให้ถูกต้องก่อน
ต้นแบบลายปริ้นสามารถเลือกทำได้ 3 แบบ
1. ต้นแบบสำหรับวิธีการรีดผ่านกระดาษโฟโต้หรือกระดาษมัน
2. ต้นแบบลายปริ้นเนกกาทีฟสำหรับทำปริ้นด้วยดรายฟิล์ม
3. ต้นแบบลายปริ้นสำหรับส่งร้านผลิต
https://drive.google.com/file/d/1HpeLgk6yqn_2WqLgpeYhptrUkhfzVfUy/view?usp=sharing
ลายปริ้นขนาด 6 นิ้ว x 4 นิ้ว (วัดขนาดก่อนทำปริ้น)
การตั้งค่าเครื่องพิมพ์เพื่อให้ได้ขนาด PCB ที่ถูกต้อง
-ตั้งค่าหน้ากระดาษเป็นขนาด A4
-ตั้งค่าการพิมพ์ดังรูป
ในกรณีที่ทำปริ้นด้วยตนเอง..
ให้นักศึกษาใช้เทคนิคโทนเนอร์ทรานเฟอร์ซึ่งรายละเอียดการทำดูได้จากเวปไซต์ของครู
กรณีใช้กระดาษโฟโต้
http://www.praphas.com/index.php/2008-11-03-14-25-25/36-2008-11-04-15-15-34/77-2010-09-13-05-43-56
กรณีใช้กระดาษโบว์ชัวด์
http://www.praphas.com/index.php/2008-11-03-14-25-25/36-2008-11-04-15-15-34/78-toner-transfer
เทคนิคนี้ใช้ได้ดีเฉพาะพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ สำหรับใช้วิธีการถ่ายเอกสารอาจไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเครื่องถ่ายเอกสารมีความร้อนสูงทำให้หมึกละลายลงกระดาษมันได้
เมื่อกัดปริ้นเสร็จ ทำการล้างหมึกที่ติดแผ่นปริ้นออกด้วยทินเนอร์
ลายปริ้นที่ใช้ศึกษาในวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ระดับปริญญาตรี การจัดทำปริ้นให้นักศึกษาดำเนินการเอง(หรือจะสั่งทำก็ได้) ครูได้ออกแบบลายปริ้นโดยปรับขนาดให้เป็น 6x4 นิ้ว เพื่อให้สามารถตัดแผ่นปริ้นขนาด 1 ตารางฟุตได้ 6 แผ่น โดยในลายปริ้นจะครอบคลุมงานหลักที่ใช้ในการเรียนการสอน 18 สัปดาห์และมีบางส่วนที่เป็นโมดูลสำเร็จรูปสามารถนำมาเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการศึกษาได้ รูปแบบของแผงวงจรเป็นดังรูป
ลายปริ้นมีจุดจั๊มสาย 1 จุด (ทำการจั้มเฉพาะปริ้นหน้าเดียวเท่านั้น) ดังรูป
ข้อควรระวัง
1. OLED จะต้องใช้รุ่นที่มีขาเรียง VCC-GND-SCL-SDA เท่านั้น (ไม่ได้ทำออฟชั่นสลับขาไว้เพื่อป้องกันการเลือกผิดซึ่งอาจทำให้ OLED ชำรุดเสียหายได้)
2. LED Bar graph 10 digit ในท้องตลาดมี 2 แบบดังรูป ดังนั้นก่อนการประกอบลงแผ่นวงจรให้ตรวจสอบขั้วให้ถูกต้องก่อน
ต้นแบบลายปริ้นสามารถเลือกทำได้ 3 แบบ
1. ต้นแบบสำหรับวิธีการรีดผ่านกระดาษโฟโต้หรือกระดาษมัน
2. ต้นแบบลายปริ้นเนกกาทีฟสำหรับทำปริ้นด้วยดรายฟิล์ม
3. ต้นแบบลายปริ้นสำหรับส่งร้านผลิต
https://drive.google.com/file/d/1HpeLgk6yqn_2WqLgpeYhptrUkhfzVfUy/view?usp=sharing
ลายปริ้นขนาด 6 นิ้ว x 4 นิ้ว (วัดขนาดก่อนทำปริ้น)
การตั้งค่าเครื่องพิมพ์เพื่อให้ได้ขนาด PCB ที่ถูกต้อง
-ตั้งค่าหน้ากระดาษเป็นขนาด A4
-ตั้งค่าการพิมพ์ดังรูป
ในกรณีที่ทำปริ้นด้วยตนเอง..
ให้นักศึกษาใช้เทคนิคโทนเนอร์ทรานเฟอร์ซึ่งรายละเอียดการทำดูได้จากเวปไซต์ของครู
กรณีใช้กระดาษโฟโต้
http://www.praphas.com/index.php/2008-11-03-14-25-25/36-2008-11-04-15-15-34/77-2010-09-13-05-43-56
กรณีใช้กระดาษโบว์ชัวด์
http://www.praphas.com/index.php/2008-11-03-14-25-25/36-2008-11-04-15-15-34/78-toner-transfer
เทคนิคนี้ใช้ได้ดีเฉพาะพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ สำหรับใช้วิธีการถ่ายเอกสารอาจไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเครื่องถ่ายเอกสารมีความร้อนสูงทำให้หมึกละลายลงกระดาษมันได้
เมื่อกัดปริ้นเสร็จ ทำการล้างหมึกที่ติดแผ่นปริ้นออกด้วยทินเนอร์
รายการอุปกรณ์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น